การประเมินผลการพัฒนางาน ตาม ว PA 2566
ข้อมูลของผู้รับการประเมิน
ชื่อผู้รับการประเมิน นางสาวประภาพร ครึมสูงเนิน อายุ 47 ปี
ตำแหน่งหน้าที่ปัจจุบัน ครู วิทยฐานะ ชำนาญการ
รับเงินเดือนในอันดับ คศ.2 อัตราเงินเดือน ......40,480......บาท
สถานที่ทำงาน โรงเรียนระดมวิทยานุสรณ์ อำเภอสูงเนิน
จังหวัดนครราชสีมา
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
นครราชสีมา เขต 4
สอนระดับชั้น ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1-3 วิชา ภาษาไทย
ชั่วโมงการสอน .........17....ชั่วโมง .....30..........นาที/ สัปดาห์
ส่วนที่ 1 ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง
ด้านการจัดการเรียนรู้
ส่วนที่ 1 ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง
1.1 ภาระงาน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566
1.1.1 ชั่วโมงสอนตามตารางสอน รวมจำนวน 17 ชั่วโมง 30 นาที /สัปดาห์ดังนี้
ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2566
กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชาภาษาไทย ม.1 จำนวน 5 ชั่วโมง/สัปดาห์
กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชาภาษาไทย ม.2 จำนวน 2 ชั่วโมง 30นาที/สัปดาห์
กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชาภาษาไทย ม.3 จำนวน 2 ชั่วโมง 30นาที/สัปดาห์
กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชาหน้าที่พลเมือง ม.1 จำนวน 1 ชั่วโมง 40นาที/สัปดาห์
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ลูกเสือ – เนตรนารี ม.1-ม.3 จำนวน 50 นาที /สัปดาห์
กิจกรรมชุมนุม ม.3 จำนวน 50 นาที /สัปดาห์
กิจกรรมเสริมทักษะอาชีพ ม.3 จำนวน 50 นาที /สัปดาห์
กิจกรรมแนะแนว ม.3 จำนวน 50 นาที/สัปดาห์
กิจกรรมซ่อมเสริม ม.1-ม.3 จำนวน 2 ชั่วโมง30นาที/สัปดาห์
1.1.2 งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 4 ชั่วโมง/สัปดาห์
จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
การวัดผลประเมินผล จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
การสร้างและพัฒนาสื่อการสอน จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
การมีส่วนร่วมในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
1.1.3 งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา จำนวน 4 ชั่วโมง/สัปดาห์
หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์
กรรมการโครงการส่งเสริมการอ่านออกเขียนได้ จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
กรรมการโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
1.1.4 งานตอบสนองนโยบายและจุดเน้น จำนวน 7 ชั่วโมง/สัปดาห์
ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าโครงการพัฒนาห้องสมุดมีชีวิต จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
กรรมการโครงการส่งเสริมการอ่านออกเขียนได้ จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
กรรมการโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
กรรมการกิจกรรมซ่อมเสริม จำนวน 3 ชั่วโมง/สัปดาห์
กรรมการกิจกรรมเสริมทักษะอาชีพ จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
ส่วนที่ 2 งานที่จะปฏิบัติตามมาตรฐานตำแหน่งครู
ด้านที่ 1 การจัดการเรียนรู้
งานที่จะดำเนินการพัฒนาในระดับที่คาดหวัง แก้ไขปัญหา คือ ครูผู้สอนแก้ไขปัญหาการใช้สื่อและเทคนิคการสอนการจับใจความสำคัญของ หน่วยการเรียนรู้เรื่องนิทานพื้นบ้าน วิชาภาษาไทย ชั้น ม.1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 และหน่วยการเรียนรู้เรื่องนิราศภูเขาทอง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 เพื่อ แก้ไขปัญหาผู้เรียน ด้านการจับใจความสำคัญ
ผลลัพธ์ (Outcomes)
1.1 ผู้เรียนมีพัฒนาการด้านการจับใจความสำคัญสูงขึ้นหลังจาก ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการอ่านจับใจความสำคัญ โดยใช้เทคนิคการสอนแบบ SQ4R ที่ผ่านการแก้ไขพัฒนาหน่วยการเรียนรู้ในรายวิชาโดยครูผู้สอน
แผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยนิทานพื้นบ้าน ภาคเรียนที่ 2/2565
เรื่องการอ่านจับใจความสำคัญจากบทร้อยกรอง
เรื่องนิทานพื้นบ้าน โดยใช้เทคนิคการสอนแบบ SQ4R
แผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยนิราศภูเขาทอง ภาคเรียนที่ 1/2566
เรื่องการอ่านจับใจความสำคัญจากบทร้อยกรอง
เรื่องนิราศภูเขาทอง โดยใช้เทคนิคการสอนแบบ SQ4R
PLC ภาคเรียนที่ 2/2565
PLC ภาคเรียนที่ 1/2566
1.2 การออกแบบหน่วยการเรียนรู้
งาน (Tasks)
- งานที่จะดำเนินการพัฒนาในระดับที่คาดหวังแก้ไขปัญหา คือ ครูผู้สอนแก้ไขปัญหาการออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ ชุดกิจกรรมการอ่านจับใจความสำคัญโดยใช้เทคนิคการสอนแบบSQ4R แผนการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาภาษาไทยชั้น ม.1 หน่วยการเรียนรู้เรื่อง นิทานพื้นบ้าน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 เพื่อแก้ไขปัญหาผู้เรียนด้านการจับใจความสำคัญ
ผลลัพธ์ (Outcomes)
ผู้เรียนมีพัฒนาการด้านการจับใจความสำคัญสูงขึ้นหลังจากได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วย ชุดกิจกรรมการอ่านจับใจความสำคัญ โดยใช้เทคนิคการสอนแบบ SQ4R ที่ผ่านการแก้ไขพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้โดยครูผู้สอน
ตัวชี้วัด (Indicators)
ผู้เรียนมีการพัฒนาด้านการจับใจความสำคัญผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของนักเรียนกลุ่มเป้าหมายหลังจากการได้รับพัฒนาจากแผนจัดการเรียนรู้ที่ผ่านการแก้ไขโดยครูผู้สอน
1.3 การจัดกิจกรรมการเรียนรู้
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้:
การจัดการเรียนการสอนในรายวิชาภาษาไทยในระดับชั้น ม.1 ถึง ม.3
ครูผู้สอนได้ใช้สื่อการสอนที่มีความเหมาะสมกับรูปแบบการสอนแบบต่าง ๆ และมีการใช้สื่อที่หลากหลาย เช่น PPT , ใบงาน ,VDO ,Youtube, และใช้นวัตกรรมในการสอน เช่น LINE , Facebook ,Line Meeting , Zoom
งาน (Tasks)
งานที่จะดำเนินการ พัฒนาในระดับที่คาดหวังแก้ไขปัญหา คือ ครูผู้สอนแก้ไขปัญหา การจัดกิจกรรมกลุ่มด้วยชุดกิจกรรม การอ่านจับใจความสำคัญ โดยใช้เทคนิคการสอนแบบ SQ4R ในรายวิชาภาษาไทยชั้น ม.1 หน่วยการเรียนรู้เรื่องนิทานพื้นบ้าน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 เพื่อแก้ไขปัญหาผู้เรียนด้าน การจับใจความสำคัญ
ผลลัพธ์ (Outcomes)
ผู้เรียนมีพัฒนาการด้านการจับใจความสำคัญสูงขึ้นหลังจากได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการอ่านจับใจความสำคัญ โดยใช้เทคนิคการสอนแบบ SQ4R (การจัดกิจกรรมกลุ่ม) ที่ผ่านแก้ไขกิจกรรมการเรียนรู้โดยครูผู้สอน
ตัวชี้วัด (Indicators)
ผู้เรียนมีการพัฒนาด้านการจับใจความสำคัญผ่านเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไม่น้อยกว่า ร้อยละ 70 ของนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย หลังจากได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผ่านการแก้ไขโดยครูผู้สอน
1.4 การสร้างและหรือพัฒนาสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยี
และแหล่งเรียนรู้
งาน (Tasks)
การสร้างและพัฒนาสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยี และแหล่งเรียนรู้:
งานที่จะดำเนิน การพัฒนาในระดับที่คาดหวังแก้ไขปัญหาคือ ครูผู้สอนแก้ไขปัญหา จัดทำชุดกิจกรรมการอ่านจับใจความสำคัญโดยใช้เทคนิคการสอนแบบSQ4R ในรายวิชาภาษาไทย ชั้น ม.1 หน่วยการเรียนรู้เรื่องนิทานพื้นบ้าน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 เพื่อแก้ไขปัญหา เพื่อแก้ไขปัญหาผู้เรียนด้านการจับใจความสำคัญ
ผลลัพธ์ (Outcomes)
ผู้เรียนมีพัฒนาการด้านการอ่านจับใจความสำคัญสูงขึ้นหลังจาก ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยสื่อชุดกิจกรรมการอ่าน จับใจความสำคัญโดยใช้เทคนิคการสอนแบบSQ4Rที่ผ่านการ แก้ไขโดยครูผู้สอน
ตัวชี้วัด (Indicators)
ผู้เรียนพัฒนาการด้านการอ่านจับใจความสำคัญผ่านเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย และมีความพึงพอใจในการใช้สื่อชุดกิจกรรมการอ่านจับใจความสำคัญโดยใช้เทคนิคการสอนแบบSQ4R ที่ผ่านการแก้ไขโดยครูผู้สอน อยู่ในระดับค่าเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 4.00 ของระดับพึงพอใจ 5 ระดับ
การเรียนรู้ผ่าน Facebook Group , LINE ในรายวิชา ภาษาไทย
ชั้น ม.1-ม.3
แหล่งเรียนรู้ www.krupung.net
1.5 วัดและประเมินผลการเรียนรู้
งาน (Tasks)
งานที่จะดำเนิน การพัฒนาในระดับที่คาดหวังแก้ไขปัญหา คือ ครูผู้สอนแก้ไขปัญหาการออกแบบเกณฑ์การประเมินการอ่านจับใจความสำคัญของการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริง ด้วยเกณฑ์การให้คะแนนแบบรูบริค ในรายวิชาภาษาไทย ม.1 หน่วยการเรียนรู้ เรื่องนิทานพื้นบ้าน ภาคเรียน ที่ 2 ปีการศึกษา 2565 และหน่วยการเรียนรู้ เรื่อง โคลงโลกนิติ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 เพื่อแก้ไขปัญหาผู้เรียนด้านการอ่านจับใจความสำคัญ
ผลลัพธ์ (Outcomes)
ผู้เรียนสามารถประเมินตนเองในด้านการอ่านจับใจความสำคัญจากชุดกิจกรรมการอ่านจับใจความสำคัญโดยใช้เทคนิคการสอนแบบ SQ4R
ได้อย่างถูกต้องตามเกณฑ์ประเมินผลการเรียนรู้ที่ผ่านการแก้ไข พัฒนา เครื่องมือวัด และประเมินผลการเรียนรู้ โดยครูผู้สอน
ตัวชี้วัด (Indicators)
ผู้เรียนสามารถประเมินตนเองในด้านการอ่านจับใจความสำคัญจากชุดกิจกรรมการอ่านจับใจความสำคัญโดยใช้เทคนิคการสอนแบบ SQ4R
ได้อย่างถูกต้องตามเกณฑ์ประเมินผลการเรียนรู้ที่กำหนดให้ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย โดยใช้เครื่องมือวัดและประเมินผลที่แก้ไขโดยครูผู้สอน
1.6 ศึกษา วิเคราะห์ และสังเคราะห์ เพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนาการเรียนรู้
งาน (Tasks)
งานที่จะดำเนิน การพัฒนาในระดับที่คาดหวังแก้ไขปัญหา คือครูผู้สอนแก้ไขปัญหาวิธีการศึกษา วิเคราะห์ และสังเคราะห์เพื่อแก้ไขปัญหาผู้เรียนในรายวิชาภาษาไทย ชั้น ม.1 หน่วยการเรียนรู้เรื่องที่นิทานพื้นบ้าน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 โดยใช้การประชุมค้นหาปัญหา สาเหตุและแนวทางแก้ไขปัญหานักเรียนโดยกระบวนการ PLC
ผลลัพธ์ (Outcomes)
ผู้เรียนมีพัฒนาการด้านการอ่านจับใจความสำคัญสูงขึ้นหลังจากการนำผลการศึกษา วิเคราะห์และสังเคราะห์ เพื่อแก้ปัญหา และพัฒนาผู้เรียนไปใช้กับผู้เรียนโดยครูผู้สอน
ตัวชี้วัด (Indicators)
ผู้เรียนมีพัฒนาการด้านการอ่านจับใจความสำคัญผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของนักเรียนกลุ่มเป้าหมายซึ่งเป็นผลจากการนำผลมาศึกษาวิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาผู้เรียน
1.7 จัดบรรยากาศที่ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียน
งาน (Tasks)
งานที่จะดำเนิน การพัฒนาในระดับที่คาดหวังแก้ไขปัญหา คือครูผู้สอนแก้ไขปัญหา วิธีการกระตุ้นให้ผู้เรียนตอบคำถามการอ่านจับใจความสำคัญ เพื่อสร้างบรรยากาศที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนในรายวิชาภาษาไทย ชั้น ม.1 หน่วยการเรียนรู้เรื่อง นิทานพื้นบ้าน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 เพื่อแก้ไขปัญหาผู้เรียนด้านความกล้าแสดงออกในการตอบคำถามการอ่านจับใจความสำคัญ
ผลลัพธ์ (Outcomes)
ผู้เรียนมีพัฒนาการดีขึ้นในด้านความกล้าแสดงออกในการตอบคำถามการอ่านจับใจความสำคัญซึ่งเป็นผลทางอ้อม จากผลการ จัดบรรยากาศที่ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผ่านการแก้ไขโดยครูผู้สอน
ตัวชี้วัด (Indicators)
ผู้เรียนมีพัฒนาการด้านความกล้าแสดงออกในการตอบคำถามการอ่านจับใจความผ่านเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของนักเรียนกลุ่มเป้าหมายซึ่งเป็นผลทางอ้อม จากผลการ
จัดบรรยากาศที่ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนที่ผ่านการ แก้ปัญหาโดยครูผู้สอน
1.8 อบรมและพัฒนาคุณลักษณะที่ดีของผู้เรียน
งาน (Tasks)
งานที่จะดำเนิน การพัฒนาในระดับที่คาดหวังแก้ไขปัญหา คือครูผู้สอนแก้ไขปัญหาวิธีการเสริมแรงผู้เรียนให้มีความกล้าแสดงความคิดเห็นในการตอบคำถามและการยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่างกันของผู้เรียนในรายวิชาภาษาไทย ชั้น ม.1 หน่วยการเรียนรู้เรื่องนิทานพื้นบ้าน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 เพื่อแก้ไขปัญหาผู้เรียนด้านการอ่านจับใจความสำคัญ
ผลลัพธ์ (Outcomes)
ผู้เรียนมีพัฒนาการคุณลักษณะที่ดีในด้านความกล้าแสดงความคิดเห็นในการตอบคำถามและการยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่างกันสูงขึ้นหลังจากได้รับการอบรมพัฒนาคุณลักษณะที่ดีของผู้เรียนที่ผ่านการแก้ไขการเสริมแรงผู้เรียนโดยครูผู้สอน
ตัวชี้วัด (Indicators)
ผู้เรียนผ่านเกณฑ์พัฒนาคุณลักษณะที่ดีด้านความกล้าแสดงความคิดเห็นในการตอบคำถามและการยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่างกันไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของนักเรียนกลุ่มเป้าหมายหลังจากได้รับการอบรมพัฒนาคุณลักษณะที่ดีของผู้เรียนที่ผ่านการแก้ไขการเสริมแรงผู้เรียนโดยครูผู้สอน
ด้านที่ 2 ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้
2.1 จัดทำข้อมูลสารสนเทศของผู้เรียนและรายวิชา
งาน (Tasks)
จัดทำข้อมูลสารสนเทศของผู้เรียนและรายวิชา: งานที่จะดำเนิน การพัฒนาในระดับที่คาดหวังแก้ไขปัญหา คือครูผู้สอนแก้ไขปัญหา การสื่อสารข้อมูลของผู้เรียนผ่านสังคมออนไลน์ เพื่อแก้ไขปัญหาผู้เรียนด้านสื่อสารและวิเคราะห์ข้อมูลในระบบสารสนเทศโดยสร้างกลุ่ม Facebook กลุ่ม LINE ของผู้เรียนเพื่อจัดทำข้อมูลสารสนเทศของผู้เรียนในรายวิชาภาษาไทย ชั้น ม.1 หน่วยการเรียนรู้เรื่อง นิทานพื้นบ้าน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 เพื่อแก้ไขปัญหาผู้เรียนด้านการอ่านจับใจความสำคัญ
ผลลัพธ์ (Outcomes)
ผู้เรียนมีพัฒนาการด้านความสามารถสื่อสาร และวิเคราะห์ข้อมูลในระบบสารสนเทศสูงขึ้นโดยใช้กลุ่ม Facebook กลุ่ม LINE ของนักเรียนกลุ่มเป้าหมายและรายวิชาที่ผ่านการแก้ไขระบบจัดทำข้อมูลสารสนเทศของผู้เรียนและรายวิชาโดยครูผู้สอน
ตัวชี้วัด (Indicators)
ผู้เรียนมีความสามารถ ในการสื่อสารและวิเคราะห์ข้อมูลในระบบสารสนเทศผ่านเกณฑ์ ที่กำหนด ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 70 ของนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย โดยใช้ กลุ่ม Facebook กลุ่ม LINEที่ผ่านการแก้ไขระบบจัดทำข้อมูลสารสนเทศของผู้เรียนและรายวิชาโดยครูผู้สอน
2.2 ดำเนินการตามระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน
งาน (Tasks)
ดำเนินการตามระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน: งานที่จะดำเนินการพัฒนาในระดับที่คาดหวังแก้ไขปัญหา คือ ครูผู้สอนแก้ไขปัญหา ระบบการให้คำปรึกษาผู้เรียนเพื่อแก้ไขปัญหาผู้เรียนด้านการอ่านจับใจความสำคัญโดยการให้คำแนะนำข้อสงสัยเกี่ยวกับการอ่านจับใจความสำคัญผ่านกลุ่ม Facebook กลุ่ม LINE ของระบบดูแลช่วยผู้เรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 เพื่อแก้ไขปัญหาผู้เรียนด้านการอ่านจับใจความสำคัญ
ผลลัพธ์ (Outcomes)
ผู้เรียนมีพัฒนาการด้านการอ่านจับใจความสำคัญสูงขึ้นหลังจากได้รับการดูแลและช่วยเหลือจากครูผู้สอนโดยใช้ กลุ่ม Facebook กลุ่ม LINE ที่เข้าถึงง่ายและสะดวกรวดเร็วที่ผ่านการแก้ไขโดยครูผู้สอนเพื่อพัฒนา การให้คำปรึกษาและช่วยเหลือผู้เรียน
ที่เข้าถึง ได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว และข้อมูลเป็นปัจจุบัน
ตัวชี้วัด (Indicators)
ผู้เรียนมีพัฒนาการด้านการอ่านจับใจความสำคัญผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไม่น้อยกว่า ร้อยละ 70 ของนักเรียนกลุ่มเป้าหมายหลังจากได้รับการดูแลและช่วยเหลือจากครูผู้สอนโดยใชักลุ่ม Facebook กลุ่ม LINE ที่ผ่านการแก้ไขโดยครูผู้สอน โดยครูผู้สอนเพื่อพัฒนาการให้คำปรึกษาและช่วยเหลือผู้เรียนที่เข้าถึงได้ง่ายสะดวกรวดเร็ว และข้อมูลเป็นปัจจุบัน
2.3 ปฏิบัติงานวิชาการ และงานอื่น ๆ ของสถานศึกษา
งาน (Tasks)
งานที่จะดำเนินการพัฒนาในระดับที่คาดหวังแก้ไขปัญหา คือ ครูผู้สอนแก้ไขปัญหาการจัดการการลงทะเบียนหนังสือในห้องสมุดให้เป็นหมวดหมู่ที่ถูกต้องโดยกำหนดเวลาในการทำงานของปฏิบัติงานทางวิชาการด้านงานการลงทะเบียนหนังสือ,จัดทำเลขบอกหมวดหมู่หนังสือในห้องสมุดและสร้างเว็บไซต์ห้องสมุดโรงเรียนระดมวิทยานุสรณ์ เพื่อเผยแพร่กิจกรรมของห้องสมุดและสื่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book)ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565
ผลลัพธ์ (Outcomes)
ผู้เรียนมีพัฒนาด้านการอ่านจับใจความสำคัญสูงขึ้น จากการที่ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ตามผลการปฏิบัติงานทางวิชาการและงานอื่น ๆ ของครูผู้สอนที่ได้รับการปรับปรุงแก้ไข
ตัวชี้วัด (Indicators)
ผู้เรียนมีพัฒนาการด้านการอ่านจับใจความสำคัญสูงขึ้นผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย หลังจากการที่ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ตามผลการปฏิบัติงานทางวิชาการ และงานอื่น ๆ ของครูผู้สอนที่ได้รับการปรับปรุงแก้ไข
2.4 ประสานความร่วมมือกับผู้ปกครอง ภาคีเครือข่าย และหรือสถานประกอบการ มีวิธีการดำเนินการดังนี้
งาน (Tasks)
งานที่จะดำเนินการพัฒนาในระดับที่คาดหวังแก้ไขปัญหา คือ
ครูผู้สอนแก้ไขปัญหาการสื่อสารกับผู้ปกครอง โดยใช้
กลุ่ม Lineผู้ปกครองผู้เรียน ในรายวิชาภาษาไทย ชั้น ม.1 ประจำ
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565
ผลลัพธ์ (Outcomes)
ผู้เรียนมีพัฒนาการด้านการอ่านการจับใจความสำคัญสูงขึ้นจาก
การได้รับการดูแลช่วยเหลือจากผู้ปกครองและครูผู้สอน ผ่านระบบการประสานความร่วมมือโดยใช้กลุ่ม Line ผู้ปกครองนักเรียนที่
ครูผู้สอนแก้ปัญหา
ตัวชี้วัด (Indicators)
ผู้เรียนมีพัฒนาการด้านการอ่านจับใจความสำคัญ ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไม่น้อยกว่า ร้อยละ 70 ของนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งเป็นผลจากการที่ได้รับการดูแลช่วยเหลือทั้งจากผู้ปกครอง และครูผู้สอนผ่านระบบการประสานความร่วมมือที่ครูผู้สอนได้แก้ปัญหา
ด้านที่ 3 ด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ
3.1 การพัฒนาตนเอง
งาน (Tasks)
งานที่จะดำเนินการพัฒนาในระดับที่คาดหวังแก้ไขปัญหา คือครูผู้สอนแก้ไขปัญหา การสอนภาษาไทยของตนเองที่มีผลต่อการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการอ่านจับใจความของผู้เรียนของผู้เรียนโดยเข้าอบรมเชิงปฏิบัติการ เทคนิคการสอนภาษาไทย การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา สมรรถนะทางวิชาชีพครู และความรอบรู้ในเนื้อหาวิชา และวิธีการสอน และเป็นแบบอย่างที่ดี นำความรู้เทคนิคการสอนภาษาไทยที่ได้เรียนรู้ การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา สมรรถนะทางวิชาชีพครู
และความรอบรู้ในเนื้อหาวิชา และวิธีการสอน และเป็นแบบอย่างที่ดีไปปรับใช้ในรายวิชาภาษาไทย ชั้น ม.1 หน่วยการเรียนรู้เรื่องนิทานพื้นบ้าน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 เพื่อแก้ไขปัญหาผู้เรียนด้านการอ่านจับใจความสำคัญ
ผลลัพธ์ (Outcomes)
ผู้เรียนมีพัฒนาการด้านการอ่านจับใจความสำคัญสูงขึ้น จากการที่ครูผู้สอนนำความรู้เทคนิคการสอนภาษาไทย การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา สมรรถนะทางวิชาชีพครูและความรอบรู้ในเนื้อหาวิชา และวิธีการสอน และเป็นแบบอย่างที่ดี ที่ได้รับจาก การเข้าร่วมอบรมเทคนิคการสอนภาษาไทยมาใช้ปรับปรุงแก้ไขแผนการจัดการเรียนรู้
ตัวชี้วัด (Indicators)
ผู้เรียนผ่านเกณฑ์พัฒนาด้านการอ่านจับใจความสำคัญไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของนักเรียนกลุ่มเป้าหมายจากการที่ครูผู้สอนนำความรู้เทคนิคการสอนภาษาไทยการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อการศึกษา สมรรถนะทางวิชาชีพครูและความรอบรู้ในเนื้อหาวิชา และวิธีการสอน และเป็นแบบอย่างที่ดี ที่ได้รับจากการอบรมเทคนิคการสอนภาษาไทยมาใช้ปรับปรุงแก้ไข แผนการจัดการเรียนรู้
3.2 มีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้
มีวิธีการดำเนินการดังนี้
งาน (Tasks)
งานที่จะดำเนินการพัฒนาในระดับที่คาดหวังแก้ไขปัญหาคือ
ครูผู้สอนแก้ไขปัญหาการพูดเสริมแรงของตนเองที่มีผลต่อการ
จัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาของผู้เรียนโดยเข้าร่วมกิจกรรมชุมชน
แห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC ทั้งบทบาทครูต้นแบบและครู
ผู้ร่วมเรียนรู้และนำความรู้การพูดเสริมแรงที่ได้เรียนรู้ไปปรับใช้
ในรายวิชาภาษาไทย ชั้น ม.1 หน่วยการเรียนรู้เรื่องนิทานพื้นบ้าน
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 เพื่อแก้ไขปัญหาผู้เรียนด้านการ
อ่านจับใจความสำคัญ
ผลลัพธ์ (Outcomes)
ผู้เรียนมีพัฒนาการด้านการอ่านจับใจความสำคัญสูงขึ้นจากการที่
ครูผู้สอนนำสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเข้าร่วมในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
ทางวิชาชีพ PLC เพื่อใช้ปรับปรุงแก้ไขการพูดเสริมแรงในแผนการ
จัดการเรียนรู้
ตัวชี้วัด (Indicators)
ผู้เรียนผ่านเกณฑ์ การพัฒนาด้านการอ่านจับใจความสำคัญ
ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย จากการที่
ครูผู้สอนนำสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเข้าร่วมในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
ทางวิชาชีพ PLC เพื่อใช้ปรับปรุงแก้ไขการพูดเสริมแรงในแผนการ
จัดการเรียนรู้
3.3 นำความรู้ ความสามารถ ทักษะที่ได้จากการพัฒนาตนเอง และวิชาชีพมาใช้ในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้
งาน (Tasks)
งานที่จะดำเนินการพัฒนาในระดับที่คาดหวังแก้ไขปัญหา คือครูผู้สอนแก้ไขปัญหาเทคนิคการสอนภาษาไทยและการพูดเสริมแรงของครูผู้สอนที่มีผลต่อการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาของผู้เรียนโดยนำความรู้ด้านเทคนิคการสอนภาษาไทยและความสามารถด้านการพูดเสริมแรงซึ่งเป็นสิ่งที่ได้เรียนรู้จากทั้งการเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการและกิจกรรมPLC มาปรับปรุงแก้ไขนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่มีผลต่อคุณภาพผู้เรียน
ผลลัพธ์ (Outcomes)
ผู้เรียนมีพัฒนาการสูงขึ้นในด้านการอ่านจับใจความสำคัญจากการที่ครูผู้สอนนำความรู้ด้านการอบรมเชิงปฏิบัติการเทคนิคการสอนภาษาไทยและความสามารถด้านการพูดเสริมแรงที่ได้รับจากการเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการและ PLC มาใช้ปรับปรุงแก้ไขการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาภาษาไทยประจำภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 เพื่อพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่มีผลต่อคุณภาพผู้เรียนและเป็นแบบอย่างที่ดี
ตัวชี้วัด (Indicators)
ผู้เรียนมีพัฒนาด้านการอ่านจับใจความสำคัญผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย จากการที่ครูผู้สอนนำสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเข้าร่วม
อบรบเชิงปฏิบัติและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาชีพPLCใช้ปรับปรุงแก้ไขการจัดการเรียนรู้
ตอนที่ 2 การพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของ
ผู้เรียน
ประเด็นท้าทาย เรื่อง การออกแบบและพัฒนาชุดกิจกรรมการอ่านจับใจความสำคัญ โดยใช้เทคนิคการสอน แบบ SQ4R ในรายวิชาภาษาไทยเพื่อแก้ปัญหาด้านการอ่านจับใจความสำคัญของผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2/2565 และ 1/2566 โรงเรียนระดมวิทยานุสรณ์
1.สภาพปัญหาของผู้เรียนและการจัดการเรียนรู้
จากผลการเรียนรู้ในรายวิชาภาษาไทย ของนักเรียนระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2565 ที่ผ่านมา ได้นำข้อมูลผลการเรียนรู้ของผู้เรียนมาพิจารณาในที่ประชุมค้นหาปัญหา หาสาเหตุ และแนวทางพัฒนาผู้เรียนในกิจกรรม PLC ของครู ...นางสาวประภาพร ครึมสูงเนิน....(ครูต้นแบบ) จากผลการระดมความคิดของสมาชิกในทีม PLC ร่วมกันพิจารณาข้อมูลของผลการเรียนรู้ของนักเรียนกลุ่มนี้ พบว่า ผลการเรียนรู้ด้านการอ่านจับใจความสำคัญ มีจำนวนนักเรียนมากกว่าร้อยละ... 70...ของนักเรียนกลุ่มนี้ที่มีผลการเรียนรู้ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด แสดงว่าผู้เรียนส่วนใหญ่มีปัญหาด้าน การอ่านจับใจความสำคัญ ซึ่งอาจเกิดจากสาเหตุหลายประการ สาเหตุหลักของปัญหาผู้เรียนที่สมาชิกในทีม PLC ได้ร่วมระดมความคิดเห็นและได้ลงข้อสรุปสาเหตุหลักของปัญหา ดังนี้
๑. กิจกรรมการเรียนรู้ไม่กระตุ้นความสนใจให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม
๒. สื่อการเรียนรู้ไม่เหมาะสมและไม่สามารถช่วยให้ผู้เรียนสร้างความรู้ได้ด้วยตนเอง
๓. ผู้เรียนขาดทักษะการคิดและการเรียบเรียงใจความสำคัญ
ครูผู้สอนได้ร่วมระดมความคิดเห็นกับสมาชิกในทีม PLC และได้สรุปแนวทางแก้ไขปัญหาผู้เรียนโดยการแก้ปัญหา การอ่านจับใจความสำคัญโดยใช้เทคนิค SQ4R และสื่อการเรียนรู้โดยใช้สื่อ ชุดกิจกรรมการอ่านจับใจความสำคัญ เพื่อแก้ไขปัญหาในรายวิชา ภาษาไทย ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2565 และนักเรียนระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2566 ตามลำดับ สำหรับพัฒนานักเรียนกลุ่มเป้าหมายนี้ในปัญหาผู้เรียนด้านการอ่านจับใจความสำคัญ ให้ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด
2. วิธีการดำเนินงาน
1.สร้างทีม PLC ประกอบด้วยครูต้นแบบ
(นางสาวประภาพร ครึมสูงเนิน) ครูผู้ร่วมเรียนรู้ (นางสาวภัณฑิลา สาสวน) ผู้เชี่ยวชาญ (นางอรุณณี จงปั้น) และ ผู้บริหารสถานศึกษา (นายพิเชษฐ์ โคนกระโทก)
2.สมาชิกในทีม PLC ร่วมประชุมค้นหาปัญหา หาสาเหตุ และแนวทางที่คาดว่าพัฒนาผู้เรียนกลุ่มเป้าหมายได้
3.ครูต้นแบบร่างแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาปัญหาผู้เรียนโดยใช้วิธีการแก้ไขปัญหาผู้เรียนตามแนวทางการพัฒนาการอ่านจับใจความสำคัญโดยใช้ชุดกิจกรรมการอ่านจับใจความสำคัญโดยใช้เทคนิคการสอนแบบ SQ4R
4.สมาชิกในทีม PLC ร่วมประชุมวิพากษ์แผนการจัดการเรียนรู้จากร่างแผนของครูต้นแบบเพื่อให้ได้แนวทางปรับปรุงแก้ไขชุดกิจกรรมการอ่านจับใจความสำคัญ โดยใช้เทคนิคการสอนแบบ SQ4R
5.ครูต้นแบบปฏิบัติการสอนตามแผนการจัดการเรียนรู้ ที่ผ่านประชุมวิพากษ์เพื่อพัฒนาปัญหาผู้เรียนและสมาชิกในทีม PLC ร่วมสังเกตการณ์พฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียนในชั้นเรียน
6.สมาชิกในทีม PLC ร่วมประชุมสะท้อนผลการสังเกตการเรียนรู้ของผู้เรียนและเสนอแนวทางปรับปรุงแก้ไขแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาปัญหาผู้เรียนครั้งถัดไป
7.สมาชิกในทีมPLCร่วมประชุมถอดบทเรียนและนวัตกรรมที่ใช้พัฒนาผู้เรียนในปัญหานี้
3.ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง เรื่อง นิทานพื้นบ้าน ภาคเรียนที่ 2/2565
ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง
3.1 ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ
ตัวชี้วัดเชิงปริมาณมีทั้งหมด 2 ตัวชี้วัด ดังนี้
1.จำนวนผู้เรียนมีส่วนร่วมในการใช้ชุดกิจกรรมการอ่านจับใจความสำคัญ โดยใช้เทคนิคการสอนแบบ SQ4R
ในรายวิชาภาษาไทย ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย
ผลลัพธ์การพัฒนา ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการใช้ชุดกิจกรรมการอ่านจับใจความสำคัญ โดยใช้เทคนิคการสอนแบบ SQ4R ในรายวิชาภาษาไทย ไม่น้อยกว่าร้อยละ 100 ของนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย จำนวน...40......คน
2. จำนวนผู้เรียนที่ได้รับการพัฒนาด้านการอ่านจับใจความสำคัญไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของนักเรียน กลุ่มเป้าหมาย
ผลลัพธ์การพัฒนา ผู้เรียนได้รับการพัฒนาด้านการอ่านจับใจความสำคัญ ร้อยละ 100 ของนักเรียน กลุ่มเป้าหมาย จำนวน...40......คน
3.2 ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ
ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพมีทั้งหมด 2 ตัวชี้วัด ดังนี้
1. ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ การอ่านจับใจความสำคัญ โดยใช้เทคนิคการสอน
แบบ SQ4R ร่วมกับชุดกิจกรรมการอ่านจับใจความสำคัญ เรื่องนิทานพื้นบ้าน ชั้น ม.1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 มีค่าเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 4.00 ของระดับความพึงพอใจ 5 ระดับ
ผลลัพธ์การพัฒนา ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ การอ่านจับใจความสำคัญ
โดยใช้เทคนิคการสอน แบบ SQ4R ร่วมกับชุดกิจกรรมการอ่านจับใจความสำคัญ เรื่องนิทานพื้นบ้าน ชั้น ม.1
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 มีค่าเฉลี่ย 4.78 ของระดับความพึงพอใจ 5 ระดับ
2.จำนวนผู้เรียนผ่านเกณฑ์พัฒนาด้านการอ่านจับใจความสำคัญไม่น้อยกว่า ร้อยละ 70 ของนักเรียน
กลุ่มเป้าหมาย
ผลลัพธ์การพัฒนา ผู้เรียนผ่านเกณฑ์พัฒนาด้านการอ่านจับใจความสำคัญคิดเป็นร้อยละ 92.50 ของนักเรียน
กลุ่มเป้าหมาย จำนวน...40......คน
3.ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง เรื่องนิราศภูเขาทอง ภาคเรียนที่ 1/2566
ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง
3.1 ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ
ตัวชี้วัดเชิงปริมาณมีทั้งหมด 2 ตัวชี้วัด ดังนี้
1.จำนวนผู้เรียนมีส่วนร่วมในการใช้ชุดกิจกรรมการอ่านจับใจความสำคัญ โดยใช้เทคนิคการสอนแบบ SQ4R
ในรายวิชาภาษาไทย ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย
ผลลัพธ์การพัฒนา ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการใช้ชุดกิจกรรมการอ่านจับใจความสำคัญ โดยใช้เทคนิคการสอนแบบ SQ4R ในรายวิชาภาษาไทย ไม่น้อยกว่าร้อยละ 100 ของนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย จำนวน...35......คน
2. จำนวนผู้เรียนที่ได้รับการพัฒนาด้านการอ่านจับใจความสำคัญไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของนักเรียน กลุ่มเป้าหมาย
ผลลัพธ์การพัฒนา ผู้เรียนได้รับการพัฒนาด้านการอ่านจับใจความสำคัญ ร้อยละ 100 ของนักเรียน กลุ่มเป้าหมาย จำนวน...35.....คน
3.2 ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ
ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพมีทั้งหมด 2 ตัวชี้วัด ดังนี้
1. ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ การอ่านจับใจความสำคัญ โดยใช้เทคนิคการสอน
แบบ SQ4R ร่วมกับชุดกิจกรรมการอ่านจับใจความสำคัญ เรื่องนิราศภูเขาทอง ชั้น ม.1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 มีค่าเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 4.00 ของระดับความพึงพอใจ 5 ระดับ
ผลลัพธ์การพัฒนา ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ การอ่านจับใจความสำคัญ
โดยใช้เทคนิคการสอน แบบ SQ4R ร่วมกับชุดกิจกรรมการอ่านจับใจความสำคัญ เรื่องนิทานพื้นบ้าน ชั้น ม.1
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 มีค่าเฉลี่ย 4.83 ของระดับความพึงพอใจ 5 ระดับ
2.จำนวนผู้เรียนผ่านเกณฑ์พัฒนาด้านการอ่านจับใจความสำคัญไม่น้อยกว่า ร้อยละ 70 ของนักเรียน
กลุ่มเป้าหมาย
ผลลัพธ์การพัฒนา ผู้เรียนผ่านเกณฑ์พัฒนาด้านการอ่านจับใจความสำคัญคิดเป็นร้อยละ 88.57 ของนักเรียน
กลุ่มเป้าหมาย จำนวน...40......คน
การมีส่วนร่วมในการพัฒนาการจัดศึกษา
ผลการปฏิบัติงาน
1. ข้าพเจ้าปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มกำลังความสามารถ ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างเต็มศักยภาพ
และมีนิสัยรักการอ่าน เพื่อให้ห้องสมุดสวยงาม และพร้อมใช้งานตลอดเวลา จัดกิจกรรมวันสุนทรภู่คู่วันภาษาไทย
เพื่อส่งเสริมให้นักเรียน ได้เรียนรู้ถึงวรรณคดีไทย ผลงานต่างๆของสุนทรภู่
2.ข้าพเจ้าได้ส่งเสริมให้นักเรียน เรียนรู้วิชาภาษาไทย สอนซ่อมเสริมนักเรียนกลุ่มอ่อน พัฒนาศักยภาพ
ของนักเรียนกลุ่มเก่ง และส่งนักเรียนเข้าร่วมสอบแข่งขันศักยภาพนักเรียนสู่ความเป็นเลิศ ปีการศึกษา 2565 ได้รับเหรียญทั้งหมด 5 เหรียญ คือ 3 เหรียญเงิน 2 เหรียญทองแดง
1.นางสาวสุกัญญา ยาสูงเนิน ได้รับรางวัล เหรียญเงิน
2. นางสาวอัญชิษฐา ได้รับรางวัล เหรียญเงิน
3. เด็กหญิงธีราพร ศรีษะ ได้รับรางวัลเหรียญทองแดง
4. นายพลาธิป เปล่งเมืองปัก ได้รับรางวัล เหรียญเงิน
5. ด.ญ. อรนิภา ศรีปัตถา ได้รับรางวัล เหรียญทองแดง
3.ข้าพเจ้าได้นำนักเรียนเข้าร่วมแข่งขันทักษะภาษาไทย เนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ โครงการรักษ์ภาษาไทย ระดับศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษา เมืองสูงเนิน ในวันที่ 27 มิถุนายน 2566 ณ โรงเรียนบ้านโคกมะกอก อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา ได้รับรางวัลชนะเลิศการแข่งขันเขียนเรียนความ และคัดลายมือ เป็นตัวแทนเข้าร่วมแข่งขันในระดับเขตพื้นที่การศึกษา
4.ข้าพเจ้าได้นำนักเรียนเข้าร่วมแข่งขันทักษะภาษาไทย เนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ โครงการรักษ์ภาษาไทย ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ในวันที่ 28 มิถุนายน 2566 ณ โรงเรียนโนนกุ่มมิตรภาพที่ 210 อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา
5.ข้าพเจ้าได้นำนักเรียนเข้าร่วมแข่งขันตอบปัญหาสารานุกรม ฉบับเยาวชนและฉบับส่งเสริมการเรียนรู้
ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ในวันที่ 23 สิงหาคม 2566 ณ ห้องประชุมจามจุรี อาคารมิ่งปัญญา โรงเรียนโนนกุ่มมิตรภาพ ที่ 210 อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา ได้รีบรางวัลชมเชย
6.ข้าพเจ้าปฏิบัติหน้าที่กรรมการกิจกรรมเสริมทักษะอาชีพ โดยได้ฝึกให้นักเรียนได้ปฏิบัติจริงในการทำขนมอบ น้ำหวาน และเครื่องดื่มประเภทต่างๆ เพื่อจัดจำหน่ายในโรงเรียน(คาบชุมนุม) และภายนอกโรงเรียนตามโอกาส
การปฏิบัติตนในการรักษาวินัยคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ
3. มีความกล้าคิด กล้าตัดสินใจ กล้าแสดงออก และกระทำในสิ่งที่ถูกต้องชอบธรรม
ข้าพเจ้ามีความกล้าคิด กล้าตัดสินใจปฏิบัติหน้าที่ด้วยความถูกต้องชอบธรรม และกล้าแสดง ความคิดเห็นหรือคัดค้านในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง รวมทั้ง ไม่ยอมทำในสิ่งที่ ไม่เหมาะสมเพื่อรักษาประโยชน์ส่วนรวม
4. มีจิตอาสา จิตสาธารณะ มุ่งประโยชน์ส่วนรวม โดยคำนึงถึงประโยชน์ส่วนตนหรือพวกพ้อง
ข้าพเจ้าปฏิบัติหน้าที่โดยคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก มีจิตอาสา จิตสาธารณะ มีความเสียสละ ปฏิบัติหน้าที่เต็มกำลัง เต็มความสามารถ อุทิศตนเพื่อประโยชน์ส่วนรวม เช่น ร่วมระดมทุนผ้าป่าเพื่อการศึกษา , บริจาคสนับสนุนทุนการศึกษาให้กับนักเรียน , การเข้าร่วมกิจกรรมชุมชน , การให้คำปรึกษาและบริการความรู้ให้กับเพื่อนครูภายในโรงเรียนและเพื่อนร่วมวิชาชีพ , การให้ความช่วยเหลือนักเรียนด้านต่าง ๆ เช่น การเกิดอุทกภัย อัคคีภัย เป็นต้น
5. มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน มุ่งมั่นในการปฏิบัติงานอย่างเต็มกำลังความสามารถโดยคำนึงถึงคุณภาพการศึกษาเป็นสำคัญ
ข้าพเจ้าปฏิบัติหน้าที่ด้วยความมุ่งมั่น มีความรับผิดชอบ ปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มกำลังและความสามารถ โดยคำนึงถึงเป้าหมาย ผลสัมฤทธิ์ของงาน มุ่งประโยชน์ส่วนรวม เพื่อให้งานบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการปฏิบัติงานในทุก ๆ ด้าน ส่งผลให้ครู นักเรียน โรงเรียนได้รับรางวัลครูดีมีคุณธรรม ระดับดีเยี่ยมประจำปี 2566
6. ปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นธรรมและไม่เลือกปฏิบัติ
ข้าพเจ้าปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเที่ยงธรรม ปราศจากอคติและให้บริการผู้เรียนและผู้รับบริการโดยไม่เลือกปฏิบัติ
7. ดำรงตนเป็นแบบอย่างที่ดีและรักษาภาพลักษณ์ของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
ข้าพเจ้าดำรงเป็นแบบอย่างที่ดีในการปฏิบัติหน้าที่ ดำรงตนเป็นข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ดีโดยน้อมนำพระบรมราโชวาท หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หลักคำสอนทางศาสนา จรรยาวิชาชีพ มาใช้ในการดำเนินชีวิตและการปฏิบัติหน้าที่ ปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีในระบอบประชาธิปไตย ด้วยการเคารพต่อกฎหมาย และมีวินัย ไม่กระทำการใด ๆ
อันอาจนำความเสื่อมเสียมาสู่ทางราชการ
8. เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ คำนึงสิทธิเด็ก และยอมรับความแตกต่างของบุคคล
ข้าพเจ้าปฏิบัติตนดูแลเอาใจใส่ช่วยเหลือผู้เรียนและผู้รับบริการเต็มความสามารถตามหลักวิชาชีพโดยคำนึงถึงสิทธิและโอกาสของผู้เรียนพึงได้รับ ให้ความเท่าเทียมและสร้างโอกาสทางการศึกษาให้กับผู้เรียนและผู้รับบริการ คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล เช่น การให้คำแนะนำ ให้คำปรึกษาแก่นักเรียน , การส่งเสริมให้นักเรียนได้รับทุนการศึกษา ,
การประสานความร่วมมือกับผู้ปกครองแจ้งข่าวประชาสัมพันธ์โรงเรียนด้านต่าง ๆ , การให้บริการอำนวยความสะดวกต่อผู้มาติดต่อราชการ เป็นต้น
9. ยึดถือและปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ
ข้าพเจ้ายึดถือประพฤติปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ ด้วยความศรัทธาในวิชาชีพ เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับผู้เรียนและผู้รับบริการ เช่น การแต่งกายด้วยชุดที่สุภาพเรียบร้อย , การดูแลเอาใจใส่และช่วยเหลือนักเรียน อย่างเป็นกัลยาณมิตรเต็มกำลัง ความรู้ ความสามารถอย่างเท่าเทียมกัน , พัฒนาตนเอง ส่งเสริมและให้บริการความรู้ต่อเพื่อนร่วมวิชาชีพ เป็นต้น
10. มีวินัยและการรักษาวินัย
ข้าพเจ้าปฏิบัติตนมีวินัยในตนเอง ยอมรับและถือปฏิบัติตามกฎ กติกา มารยาท ขนบธรรมเนียมและแบบแผนอันดีงามของสังคม อย่างเคร่งครัด เช่น มีความตรงต่อเวลาในการเข้าและเลิกปฏิบัติงาน , เข้าร่วมกิจกรรมที่ทางโรงเรียนจัดขึ้นสม่ำเสมอ , แต่งกายถูกต้องตามข้อกำหนดของสถานศึกษา เป็นต้น