การประเมินผลการพัฒนางาน ตาม ว PA ครั้งที่ 2/2565
ข้อมูลของผู้รับการประเมิน
ชื่อผู้รับการประเมิน นางสาวประภาพร ครึมสูงเนิน อายุ 46 ปี
ตำแหน่งหน้าที่ปัจจุบัน ครู วิทยฐานะ ชำนาญการ
รับเงินเดือนในอันดับ คศ.2 อัตราเงินเดือน ......38,310......บาท
สถานที่ทำงาน โรงเรียนระดมวิทยานุสรณ์ อำเภอสูงเนิน
จังหวัดนครราชสีมา
สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
นครราชสีมา เขต 4
สอนระดับชั้น ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1-3 วิชา ภาษาไทย
ชั่วโมงการสอน .........15.........ชั่วโมง / สัปดาห์
ส่วนที่ 1 ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง
ด้านการจัดการเรียนรู้
1.1 ข้อมูลการสอน ภาคเรียนที่ 1/2565
ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2565 ชั่วโมงสอนตามตารางสอน รวมจำนวน 15 ชั่วโมง /สัปดาห์ดังนี้
1 วิชาภาษาไทย ท21102 ชั้น ม.1 จำนวน 2 ห้อง 6 คาบ/สัปดาห์
2. วิชาภาษาไทย ท22102 ชั้น ม.2 จำนวน 1 ห้อง 6 คาบ/สัปดาห์
3. วิชาภาษาไทย ท23102 ชั้น ม.3 จำนวน 1 ห้อง 6 คาบ/สัปดาห์
4. วิชาหน้าที่พลเมือง ชั้น ม.3 จำนวน 1 ห้อง 1 คาบ/สัปดาห์
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และชุมนุม
5. ลูกเสือ – เนตรนารี ชั้น ม.1-ม.3 จำนวน 1 ห้อง 1 คาบ/สัปดาห์
6. กิจกรรมชุมนุมห้องสมุด ชั้น ม.1-ม.3 จำนวน 1 ห้อง 1 คาบ/สัปดาห์
7.กิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ ชั้น ม.3 จำนวน 1 ห้อง 5 คาบ/สัปดาห์
8. กิจกรรมแนะแนว ชั้น ม.3 จำนวน 1 ห้อง 1 คาบ/สัปดาห์
1.2 งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ จำนวน....3.........ชั่วโมง/สัปดาห์
ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2564และภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2565
-จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทย ม.1-ม.3 จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
-การสร้างและพัฒนาสื่อการสอนรายวิชาภาษาไทย ม.1-ม.3 จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
-การมีส่วนร่วมในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
1.3 งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา จำนวน.....3........ชั่วโมง/สัปดาห์
ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2564 และภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2565
-ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์
-ปฏิบัติหน้าที่คณะทำงานโครงการส่งเสริมการอ่านออกเขียนได้
และโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
1.4 งานตอบสนองนโยบายและจุดเน้น จำนวน.....2........ชั่วโมง/สัปดาห์
ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2564 และภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2565
-ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าโครงการพัฒนาห้องสมุดมีชีวิต จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
-ปฏิบัติหน้าที่คณะทำงานโครงการส่งเสริมการอ่านออกเขียนได้
และโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
ส่วนที่ 2 งานที่จะปฏิบัติตามมาตรฐานตำแหน่งครู
ด้านที่ 1 การจัดการเรียนรู้
ครูผู้สอนแก้ไขปัญหาการใช้สื่อและเทคนิคการสอนการจับใจความสำคัญของหน่วยการเรียนรู้เรื่องนิทานพื้นบ้าน วิชาภาษาไทย ชั้น ม.1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 และหน่วยการเรียนรู้เรื่องนิราศภูเขาทอง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 เพื่อแก้ไขปัญหาผู้เรียนด้านการจับใจความสำคัญ
ผลลัพธ์ (Outcomes)
ผู้เรียนมีพัฒนาการด้านการจับใจความสำคัญสูงขึ้นหลังจากได้รับการจัดการเรียนรู้โดยหน่วยการเรียนรู้ในรายวิชาภาษาไทยอย่างน้อย 1 หน่วยการเรียนรู้ต่อภาคการศึกษาที่ผ่านการแก้ไขพัฒนาหน่วยการเรียนรู้โดยครูผู้สอน
แผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยนิราศภูเขาทอง
เรื่องการอ่านจับใจความสำคัญจากบทร้อยกรอง เรื่องนิราศภูเขาทอง โดยใช้เทคนิคการสอนแบบ SQ4R
1.2 การออกแบบหน่วยการเรียนรู้
งาน (Tasks)
- งานที่จะดำเนินการพัฒนาในระดับที่คาดหวังแก้ไขปัญหา คือครูผู้สอนแก้ไขปัญหาการออกแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการอ่านจับใจความสำคัญโดยใช้เทคนิค การสอนแบบSQ4R แผนการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาภาษาไทยชั้น ม.1 หน่วยการเรียนรู้เรื่อง นิทานพื้นบ้าน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 และหน่วยการเรียนรู้เรื่อง นิราศภูเขาทอง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 เพื่อแก้ไขปัญหาผู้เรียนด้านการจับใจความสำคัญ
ผลลัพธ์ (Outcomes)
ผู้เรียนมีพัฒนาการด้านการจับใจความสำคัญสูงขึ้นหลังจากได้รับการจัดการเรียนรู้โดยแผนการเรียนรู้ในรายวิชาภาษาไทยอย่างน้อย 3 แผนการจัดการเรียนรู้ต่อภาคการศึกษาที่ผ่านการแก้ไขแผนการจัดการเรียนรู้โดยครูผู้สอน
1.3 จัดกิจกรรมการเรียนรู้
งาน (Tasks)
แก้ไขปัญหาการจัดกิจกรรมกลุ่มการอ่านจับใจความสำคัญ ในรายวิชาภาษาไทยชั้น ม.1 หน่วยการเรียนรู้เรื่องนิทานพื้นบ้าน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 และหน่วยการเรียนรู้เรื่อง นิราศภูเขาทอง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 เพื่อแก้ไขปัญหาผู้เรียนด้านการจับใจความสำคัญ
ผลลัพธ์ (Outcomes)
แก้ไขปัญหาการจัดกิจกรรมกลุ่มการอ่านจับใจความสำคัญในรายวิชาภาษาไทยชั้น ม.1หน่วยการเรียนรู้เรื่องนิทานพื้นบ้าน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 และหน่วยการเรียนรู้เรื่อง นิราศภูเขาทอง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 เพื่อแก้ไขปัญหาผู้เรียนด้านการจับใจความสำคัญ
1.4 การสร้างและหรือพัฒนาสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยี และแหล่งเรียนรู้
งาน (Tasks)
การสร้างและพัฒนาสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยี และแหล่งเรียนรู้:
ครูผู้สอนแก้ไขปัญหา จัดทำชุดกิจกรรมการอ่านจับใจความสำคัญโดยใช้เทคนิคการสอนแบบSQ4R ในรายวิชาภาษาไทย ชั้น ม.1 หน่วยการเรียนรู้เรื่องนิทานพื้นบ้าน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 และหน่วยการเรียนรู้เรื่อง นิราศภูเขาทอง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 เพื่อแก้ไขปัญหา เพื่อแก้ไขปัญหาผู้เรียนด้านการจับใจความสำคัญ
ผลลัพธ์ (Outcomes)
ผู้เรียนมีพัฒนาการด้านการจับใจความสำคัญสูงขึ้นหลังจากได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยสื่อชุดกิจกรรมการอ่านจับใจความสำคัญโดยใช้เทคนิคการสอนแบบSQ4R ที่ผ่านการแก้ไขโดยครูผู้สอน
การเรียนรู้ผ่าน Facebook Group , LINE ในรายวิชา ภาษาไทย
ชั้น ม.1-ม.3
แหล่งเรียนรู้ www.krupung.net
1.5 วัดและประเมินผลการเรียนรู้
งาน (Tasks)
งานที่จะดำเนินการพัฒนาในระดับที่คาดหวังแก้ไขปัญหาคือ ครูผู้สอนแก้ไขปัญหาการออกแบบเกณฑ์การประเมินการอ่านจับใจความสำคัญของการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนในรายวิชาภาษาไทย ม.1 หน่วยการเรียนรู้ เรื่องนิทานพื้นบ้าน ภาคเรียน ที่ 2 ปีการศึกษา 2564 และหน่วยการเรียนรู้ เรื่อง นิราศภูเขาทอง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 เพื่อแก้ไขปัญหาผู้เรียนด้านการจับใจความสำคัญ
ผลลัพธ์ (Outcomes)
ผู้เรียนสามารถประเมินตนเองในด้านการจับใจความสำคัญได้อย่างถูกต้องตามเกณฑ์ประเมินผลการเรียนรู้ที่ ผ่านการแก้ไขพัฒนาโดยครูผู้สอน
1.6 ศึกษา วิเคราะห์ และสังเคราะห์ เพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนาการเรียนรู้
งาน (Tasks)
นำผลการแก้ปัญหาหรือการพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนไปใช้
งานที่จะดำเนิน การพัฒนาในระดับที่คาดหวังแก้ไขปัญหา คือครูผู้สอนแก้ไขปัญหาวิธีการศึกษา วิเคราะห์ และสังเคราะห์เพื่อแก้ไขปัญหาผู้เรียนในรายวิชาภาษาไทย ชั้น ม.1 หน่วยการเรียนรู้เรื่องที่นิทานพื้นบ้าน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 และหน่วยการเรียนรู้เรื่อง นิราศภูเขาทอง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โดยใช้การประชุมค้นหาปัญหา สาเหตุและแนวทางแก้ไขปัญหานักเรียนโดยกระบวนการ PLC
ผลลัพธ์ (Outcomes)
ผู้เรียนมีพัฒนาการด้านการอ่านจับใจความสำคัญสูงขึ้นหลังจากการนำผลการศึกษา วิเคราะห์และสังเคราะห์ เพื่อแก้ปัญหา และพัฒนาผู้เรียนไปใช้กับผู้เรียนโดยครูผู้สอน
1.7 จัดบรรยากาศที่ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียน
งาน (Tasks)
แก้ไขปัญหาวิธีการกระตุ้นให้ผู้เรียนตอบคำถามการอ่านจับใจความสำคัญ เพื่อสร้างบรรยากาศที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนในรายวิชาภาษาไทย ชั้น ม.1 หน่วยการเรียนรู้เรื่อง นิทานพื้นบ้าน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 และหน่วยการเรียนรู้เรื่อง นิราศภูเขาทอง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 เพื่อแก้ไขปัญหาผู้เรียนด้านความกล้าแสดงออกในการตอบคำถามการอ่านจับใจความสำคัญและร่องรอยหลักฐานคือวิดีทัศน์การเปิดชั้นเรียนในกิจกรรม PLC ที่แสดงถึงการใช้คำพูดเสริมแรงของครูผู้สอนให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการตอบคำถาม
ผลลัพธ์ (Outcomes)
ผู้เรียนมีพัฒนาการดีขึ้นในด้านความกล้าแสดงออกในการตอบคำถามการอ่านจับใจความจากผลการจัดบรรยากาศที่ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนที่ผ่านการแก้ไขโดยครูผู้สอน
1.8 อบรมและพัฒนาคุณลักษณะที่ดีของผู้เรียน
งาน (Tasks)
แก้ไขปัญหาวิธีการเสริมแรงผู้เรียนให้มีความกล้าแสดงความคิดเห็นในการตอบคำถามและการยอมรับ ความคิดเห็นที่แตกต่างกันของผู้เรียนในรายวิชาภาษาไทย ชั้น ม.1 หน่วยการเรียนรู้เรื่องนิทานพื้นบ้าน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 และหน่วยการเรียนรู้เรื่อง นิราศภูเขาทอง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 เพื่อแก้ไขปัญหาผู้เรียนด้านการอ่านจับใจความสำคัญ
ผลลัพธ์ (Outcomes)
ผู้เรียนมีพัฒนาการคุณลักษณะที่ดีในด้านความกล้าแสดงความคิดเห็นในการตอบคำถามและการยอมรับ ความคิดเห็นที่แตกต่างกันสูงขึ้นหลังจากได้รับการอบรมพัฒนาคุณลักษณะที่ดีของผู้เรียนที่ผ่านการแก้ไข
การเสริมแรงผู้เรียนโดยครูผู้สอน
ด้านที่ 2 ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้
2.1 จัดทำข้อมูลสารสนเทศของผู้เรียนและรายวิชา
งาน (Tasks)
แก้ไขปัญหา การสื่อสารข้อมูลของผู้เรียนผ่านสังคมออนไลน์ เพื่อแก้ไขปัญหาผู้เรียนด้านสื่อสารและวิเคราะห์ข้อมูลในระบบสารสนเทศโดยสร้างกลุ่มเฟซบุ๊กของผู้เรียนเพื่อจัดทำข้อมูลสารสนเทศของผู้เรียนในรายวิชาภาษาไทย ชั้น ม.1 หน่วยการเรียนรู้เรื่อง นิทานพื้นบ้าน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 และหน่วยการเรียนรู้เรื่อง นิราศภูเขาทอง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 เพื่อแก้ไขปัญหาผู้เรียนด้านการอ่านจับใจความสำคัญ
ผลลัพธ์ (Outcomes)
ผู้เรียนมีความสามารถสื่อสาร และวิเคราะห์ข้อมูลในระบบสารสนเทศโดยใช้กลุ่มเฟซบุ๊กของนักเรียน กลุ่มเป้าหมายและรายวิชาที่ผ่านการแก้ไขระบบจัดทำข้อมูลสารสนเทศของผู้เรียนและรายวิชาโดยครูผู้สอน
Facebook กลุ่ม LINE และเว็บไซต์ www.krupung.net ของผู้เรียนกลุ่มเป้าหมายและรายวิชาเพื่อใช้สื่อสารข้อมูลเช่น สื่อ วิดิโอคลิป ใบงาน ใบความรู้ และผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
2.2 ดำเนินการตามระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน
งาน (Tasks)
แก้ไขปัญหาระบบการให้คำปรึกษาผู้เรียนเพื่อแก้ไขปัญหาผู้เรียนด้านการอ่านจับใจความสำคัญโดยการให้ คำแนะนำข้อสงสัยเกี่ยวกับการอ่านจับใจความสำคัญผ่านไลน์ของระบบดูแลช่วยผู้เรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 เพื่อแก้ไขปัญหาผู้เรียนด้านการอ่านจับใจความสำคัญ
ผลลัพธ์ (Outcomes)
ผู้เรียนมีพัฒนาการด้านการอ่านจับใจความสำคัญสูงขึ้นหลังจากได้รับการดูแลและช่วยเหลือจากครูผู้สอนโดยใช้กลุ่มไลน์ เฟซบุ๊กที่เข้าถึงง่ายและสะดวกรวดเร็วที่ผ่านการแก้ไขโดยครูผู้สอน
2.3 ปฏิบัติงานวิชาการ และงานอื่น ๆ ของสถานศึกษา
งาน (Tasks)
แก้ไขปัญหาการจัดการการลงทะเบียนหนังสือในห้องสมุดให้เป็นหมวดหมู่ที่ถูกต้องโดยกำหนดเวลาในการทำงานของปฏิบัติงานทางวิชาการด้านงานการลงทะเบียนหนังสือและการจัดตกแต่งมุมหนังสือพระราชนิพนธ์ใน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564และภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565
ร่องรอยหลักฐานคือ ไฟล์รูปภาพตารางเวลาการลงทะเบียนหนังสือในห้องสมุดให้เป็นหมวดหมู่และรูปภาพการจัดตกแต่งมุมหนังสือพระราชนิพนธ์
ผลลัพธ์ (Outcomes)
ผู้เรียนมีพัฒนาการสูงขึ้นในด้านการอ่านจับใจความสำคัญจากการที่ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ตามผลการปฏิบัติงานทางวิชาการและงานอื่น ๆ ของครูผู้สอนที่ได้รับการปรับปรุงแก้ไข
2.4 ประสานความร่วมมือกับผู้ปกครอง ภาคีเครือข่าย และหรือสถานประกอบการ
งาน (Tasks)
แก้ไขปัญหาการสื่อสารกับผู้ปกครอง โดยใช้กลุ่มไลน์ผู้ปกครองผู้เรียน ในรายวิชาภาษาไทย ชั้น ม.1 ประจำภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 และภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565
ผลลัพธ์ (Outcomes)
ผู้เรียนมีพัฒนาการสูงขึ้นในด้านการอ่านการจับใจความสำคัญจากการได้รับการดูแลช่วยเหลือจากผู้ปกครอง และครูผู้สอนผ่านระบบการประสานความร่วมมือที่ครูผู้สอนได้
ด้านที่ 3 ด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ
3.1 การพัฒนาตนเอง
งาน (Tasks)
แก้ไขปัญหาปฏิบัติการการสอนภาษาไทยของตนเองที่มีผลต่อการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาของผู้เรียนโดยเข้าอบรมเชิงปฏิบัติการเทคนิคการสอนภาษาไทยและนำความรู้เทคนิคการสอนภาษาไทยที่ได้เรียนรู้ไปปรับใช้ในรายวิชาภาษาไทย ชั้น ม.1 หน่วยการเรียนรู้เรื่องนิทานพื้นบ้าน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 และหน่วยการเรียนรู้เรื่อง นิราศภูเขาทอง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 เพื่อแก้ไขปัญหาผู้เรียนด้านการอ่านจับใจความสำคัญ
ผลลัพธ์ (Outcomes)
ผู้เรียนมีพัฒนาการสูงขึ้นในด้านการอ่านจับใจความสำคัญ จากการที่ครูผู้สอนนำความรู้เทคนิคการสอนภาษาไทยที่ได้รับจากการเข้าร่วมอบรมเทคนิคการสอนภาษาไทยมาใช้ปรับปรุงแก้ไขแผนการจัดการเรียนรู้
3.2 มีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้
งาน (Tasks)
แก้ไขปัญหาการพูดเสริมแรงของตนเองที่มีผลต่อการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาของผู้เรียนโดยเข้าร่วมกิจกรรมชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC ทั้งบทบาทครูต้นแบบและครูผู้ร่วมเรียนรู้และนำ..ความรู้การพูดเสริมแรงที่ได้เรียนรู้ไปปรับใช้ในรายวิชาภาษาไทย ชั้น ม.1 หน่วยการเรียนรู้เรื่องนิทานพื้นบ้าน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 และหน่วยการเรียนรู้เรื่องที่นิราศภูเขาทอง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565เพื่อแก้ไขปัญหาผู้เรียนด้านการอ่านจับใจความสำคัญ
ผลลัพธ์ (Outcomes)
ผู้เรียนมีพัฒนาการในด้านการอ่านจับใจความสำคัญสูงขึ้นจากการที่ครูผู้สอนนำสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเข้าร่วมในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC เพื่อใช้ปรับปรุงแก้ไขการพูดเสริมแรงในแผนการจัดการเรียนรู้
3.3 นำความรู้ ความสามารถ ทักษะที่ได้จากการพัฒนาตนเอง และวิชาชีพมาใช้ในการพัฒนา
งาน (Tasks)
แก้ไขปัญหาคือครูผู้สอนแก้ไขปัญหาเทคนิคการสอนภาษาไทยและการพูดเสริมแรงของครูผู้สอนที่มีผลต่อการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาของผู้เรียนโดยนำความรู้ด้านเทคนิคการสอนภาษาไทยและความสามารถด้านการพูดเสริมแรงซึ่งเป็นสิ่งที่ได้เรียนรู้จากทั้งการเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการและกิจกรรมPLC มาปรุบปรุงแก้ไขนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่มีผลต่อคุณภาพผู้เรียน
ผลลัพธ์ (Outcomes)
ผู้เรียนมีพัฒนาการสูงขึ้นในด้านการอ่านจับใจความสำคัญจากการที่ครูผู้สอนนำความรู้ด้านการอบรมเชิงปฏิบัติการเทคนิคการสอนภาษาไทยและความสามารถด้านการพูดเสริมแรงที่ได้รับจากการเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการและ PLC มาใช้ปรับปรุงแก้ไขการจัดการเรียนรู้ในรายวิชา .ภาษาไทยประจำภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 เพื่อพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่มีผลต่อคุณภาพผู้เรียนและเป็นแบบอย่างที่ดี
ตอนที่ 2 การพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน
ประเด็นท้าทาย เรื่อง การออกแบบและพัฒนาชุดกิจกรรมการอ่านจับใจความสำคัญ โดยใช้เทคนิคการสอนแบบ SQ4R ในรายวิชาภาษาไทยเพื่อแก้ปัญหาด้านการอ่านจับใจความสำคัญของผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2/2564 และ 1/2565
1. สภาพปัญหาของผู้เรียนและการจัดการเรียนรู้
จากการประชุมค้นหาปัญหา หาสาเหตุ และแนวทางพัฒนาผู้เรียนในกิจกรรม PLC ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จากผลการเรียนรู้ในรายวิชาภาษาไทยภาคการศึกษาที่ 1/2564 ที่ผ่านมา เมื่อพิจารณาข้อมูลคะแนนการประเมินชิ้นงานการอ่านจับใจความสำคัญของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 ของนักเรียนกลุ่มเป้าหมายนี้ พบว่านักเรียนส่วนใหญ่มากกว่าร้อยละ 70 ของผู้เรียนกลุ่มเป้าหมาย มีคะแนนการประเมินชิ้นงานการอ่านจับใจความสำคัญต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด แสดงถึงความบกพร่องด้านทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ ซึ่งเกิดจากสาเหตุหลายประการ สาเหตุหลักที่สมาชิกในทีม PLC ได้ร่วมระดมความคิดเห็นและได้ลงข้อสรุปจากสมาชิกครูที่ร่วมกิจกรรมประชุมทีม PLC ว่าสาเหตุหลักที่ทำให้นักเรียนความบกพร่องด้านการอ่านจับใจความสำคัญคือผู้เรียนไม่ได้รับการฝึกด้วยแบบฝึกการอ่านจับใจความสำคัญที่เหมาะสมกับผู้เรียน ครูผู้สอนได้ร่วมระดมความคิดเห็นกับสมาชิกครูในทีม PLC และได้สรุปแนวทางพัฒนาปัญหาผู้เรียนโดยการปรับปรุงแก้ไขชุดกิจกรรมการอ่านจับใจความสำคัญ โดยใช้เทคนิคการสอนแบบ SQ4R นำมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามรูปแบบการร่วมมือทำกิจกรรมกลุ่มฝึกอ่านจับใจความสำคัญและประยุกต์ใช้พัฒนาผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในรายวิชาภาษาไทยภาคการศึกษาที่ 2/2564 และ 1/2565 ในปัญหาด้านการอ่านจับใจความสำคัญให้มีพัฒนาการสูงขึ้น
1.สร้างทีม PLC ประกอบด้วยครูต้นแบบ (นางสาวประภาพร ครึมสูงเนิน) ครูผู้ร่วมเรียนรู้ (นางสาวภัณฑิลา สาสวน) ผู้เชี่ยวชาญ (นางอรุณณี จงปั้น) และ ผู้บริหารสถานศึกษา (นางจิตจา ที่หนองสังข์)
2.สมาชิกในทีม PLC ร่วมประชุมค้นหาปัญหา หาสาเหตุ และแนวทางที่คาดว่าพัฒนาผู้เรียนกลุ่มเป้าหมายได้
3.ครูต้นแบบร่างแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาปัญหาผู้เรียนโดยใช้วิธีการแก้ไขปัญหาผู้เรียนตามแนวทางการพัฒนาการอ่านจับใจความสำคัญโดยใช้ชุดกิจกรรมการอ่านจับใจความสำคัญ โดยใช้เทคนิคการสอนแบบ SQ4R
4.สมาชิกในทีม PLC ร่วมประชุมวิพากษ์แผนการจัดการเรียนรู้จากร่างแผนของครูต้นแบบเพื่อให้ได้แนวทางปรับปรุงแก้ไขชุดกิจกรรมการอ่านจับใจความสำคัญ โดยใช้เทคนิคการสอนแบบ SQ4R
5.ครูต้นแบบปฏิบัติการสอนตามแผนการจัดการเรียนรู้ ที่ผ่านประชุมวิพากษ์เพื่อพัฒนาปัญหาผู้เรียนและสมาชิกในทีม PLC ร่วมสังเกตการณ์พฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียนในชั้นเรียน
6.สมาชิกในทีม PLC ร่วมประชุมสะท้อนผลการสังเกตการเรียนรู้ของผู้เรียนและเสนอแนวทางปรับปรุงแก้ไขแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาปัญหาผู้เรียนครั้งถัดไป
7.สมาชิกในทีมPLCร่วมประชุมถอดบทเรียนและนวัตกรรมที่ใช้พัฒนาผู้เรียนในปัญหานี้
3. ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง
3. ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง
3.1 เชิงปริมาณ
ตัวชี้วัดเชิงปริมาณมีทั้งหมด 2 ตัวชี้วัด ดังนี้
3.1.1 จำนวนผู้เรียนที่มีส่วนร่วมในการใช้ชุดกิจกรรมการอ่านจับใจความสำคัญ โดยใช้เทคนิคการสอนแบบ SQ4R ในรายวิชาภาษาไทย ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย
ผลลัพธ์การพัฒนา ผู้เรียนที่มีส่วนร่วมในการใช้ชุดกิจกรรมการอ่านจับใจความสำคัญ โดยใช้เทคนิคการสอนแบบ SQ4R ในรายวิชาภาษาไทยคิดเป็นร้อยละ 100 ของผู้เรียนกลุ่มเป้าหมาย 52 คน
3.1.2 จำนวนผู้เรียนที่ได้รับการผ่านพัฒนาด้านการอ่านจับใจความสำคัญไม่น้อยกว่า ร้อยละ 70 ของนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย
ผลลัพธ์การพัฒนา ผู้เรียนที่ได้รับการผ่านพัฒนาด้านการอ่านจับใจความสำคัญ โดยใช้เทคนิคการสอนแบบ SQ4R ในรายวิชาภาษาไทยคิดเป็นร้อยละ 100 ของผู้เรียนกลุ่มเป้าหมาย 52 คน
3.2 เชิงคุณภาพ
ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพมีทั้งหมด 2 ตัวชี้วัด ดังนี้
3.2.1 ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อสื่อแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญโดยใช้
ชุดกิจกรรมการอ่านจับใจความสำคัญ โดยใช้เทคนิคการสอนแบบ SQ4R ที่ค่าเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 3.00 ของระดับความพึงพอใจ 5 ระดับ
ผลลัพธ์การพัฒนา ผู้เรียน ร้อยละ 100 มีความพึงพอใจโดยเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 3.00 ต่อสื่อแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญโดยใช้ชุดกิจกรรมการอ่านจับใจความสำคัญ โดยใช้เทคนิคการสอนแบบ SQ4R
3.2.2 จำนวนผู้เรียนผ่านเกณฑ์พัฒนาด้านการอ่านจับใจความสำคัญไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย
ผลลัพธ์การพัฒนา ผู้เรียนที่ ผ่าน เกณฑ์พัฒนาด้านการอ่านจับใจความสำคัญ คิดเป็นร้อยละ 92.31 ของผู้เรียนกลุ่มเป้าหมาย 52 คน
เรื่องนิราศภูเขาทอง โดยใช้เทคนิคการสอนแบบ SQ4R